วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ชาติภูมิ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า "โต" (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า "โต" ) นามฉาย าว่า "พฺรหมรังสี" เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑


                มีผู้รู้ตำราโหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาของท่านไว้ดังนี้ (ในหนังสือ "ประวัติขรัวโต" ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรม พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศน์ผู้เขียน) ทรงคำนวณถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยมีพระประสงค์จะทรงทราบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปจะมีดวงชะตาเป็นอย่างไร แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งได้ประทานให้แก่พระยาทิพโกษา ลอกคัดเก็บรักษาไว้อีกต่อหนึ่ง ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ว่านี้ลัคนาสถิตราศีใดหาทราบไม่ แต่ได้ค้นพบในที่อื่นอยู่ในหอพระสมุดแห่งชาติ ปรากฏว่าโหรวางลัคนาไว้ในราศีเมษ แต่พบในที่อื่นอยู่ในราศรีพฤษภ. (มหาเฮง วัดกัลยาณ์)
                สำหรับ ดวงที่ท่านเห็นอยู่นี้ ผูกขึ้นจากข้อมูลการเกิดข้างต้น เพียงแต่ลงตำแหน่งดาวเพิ่มขึ้นจากเดิม ๓ ดวง คือ เนปจูน (น)  พลูโต (พ)  และแบคคัส (บ)  โดยได้วางลัคนาไว้ที่ราศีพฤษภ เนื่องจากช่วงเวลาที่พระบิณฑบาตร กว่าจะออกจากวัดตอนหกโมงเช้า พายเรือมากว่าจะถึงบ้านโยม ก็คงใช้เวลาอย่างน้อยเป็นชั่วโมง เพราะต้องรับบาตรเรื่อยมา เวลาที่ลงไว้ เมื่อวางลัคนา และเทียบกับอัตตชีวประวัติ ตลอดจนอุปนิสัยของท่านแล้ว เชื่อว่า ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง มากกว่าที่จะอยู่ในราศีเมษ (อ.เล็ก พลูโต )

วงศ์สกุล
            วงศ์สกุลของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กล่าวกันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
เป็นพระราชโอรส ในพระองค์พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และตลอดจนชั้นสามัญชนทั่วไป ก็เข้าใจกันว่าเป็นเช่นนั้น แต่เรื่องนี้ไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งจึงไม่ขอยืนยัน มารดาชื่อเกสร (ธิดา นายชัย) เดิมเป็นชาวบ้านตำบลท่าอิฐ อำเภอท่าโพธิ์ ต่อมาในสมัยหนึ่งการทำนาไม่ได้ผลเพระฝนแล้งมาหลายปี จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่อย่างน้อยที่สุดท่านต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี (ความปรากฏในจดหมายเหตุบัญีน้ำฝน ของสมเด้จพระมหาสมณะเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เล่น ๓ หน้า ๔๔ ว่า 
                "...วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุล. ๑๒๓๔ เวลา ๒ ยาม สมเด้จพระพุฒาจารย์ถึง "ชีพิตักษัย....." ดัง นี้ส่อให้เห็นว่าท่านต้องเป็นเชื้อพระราชวงศ์) กล่าวกันว่าเมื่อท่านเกิดแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นทารกนอนเบาะ มารดาพาท่านไปพักอยู่ที่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านสอนเดินได้ มารดาก็พาท่านมาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนครสืบมา (ในกาลหลังท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้ ณ ตำบลทั้งสามเป็นอนุสรณ์)

อุปสมบทและการศึกษา
ปรากฏว่าเมื่อเยาว์วัย ท่านได้รับการศึกษาอักขรสมัยในสำนัก เจ้าคุณอรัญญิก (เจ้าคุณอรัญญิกเป็นชาวเวียงจันทน์ เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ มีคนนับถือมาก นามเดิมของท่านเข้าใจว่าชื่อแก้ว) วัดอินทรวิหาร (วัดนี้เป็นวัดโบราณ ใครสร้างไม่ปรากฏที่กล่าวในหนังสือ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างนั้น เห็นจะหมายความว่า ท่านได้ปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก เดิมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ต่อมาพระองค์เจ้าอินทวงศ์ในกรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทรราม ภายหลัง (ในรัชกาลที่ ๖) ทางการคณะสงฆ์ พิจารณาเห็นว่านามพ้องกับวัดอินทาราม (วัดบางยี่เรือใต้) คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดอินทรวิหาร" ปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้
วัดอินทรวิหาร (วัดนี้เป็นวัดโบราณ ใคร สร้างไม่ปรากฏ ที่กล่าวในหนังสือเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างนั้นเห็นจะหมายความว่าท่านได้ปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก เดิมเรียกว่า "วัด บางขุนพรนอก" ต่อมาพระองค์เจ้าอิทรวงศ์ในกรมพระราชวังบวรฯ รัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทรราม ภายหลัง (วัดบางยี่เรือใต้) คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดอินทรวิหาร" ปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้
ครั้นอายุ ๑๒ ปี ในปีวอก พ.ศ. ๒๓๔๓ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (จะบรรพชาที่วัดสังเวชฯ หรือวัดอินทรวิหารไม่ทราบแน่ แต่สันนิษฐานว่าจะบรรพชาที่วัดอินทรวิหาร ด้วยเป็นสำนักที่ท่านเคยอยู่และศึกษาอักขรสมัยมาแต่แรก) เจ้าคุณบวรวิริยเถร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (เวลานั้นเรียกว่าวัดบางลำพูบน) จังหวัดพระนคร เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาจะเป็นปีใดไม่ปรากฏ ได้ย้ายสำนักมาอยู่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป
ในตอนที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะย้ายมาอยู่วัดระฆังฯ นั้นมีเรื่องเล่าว่า คืนวันหนึ่งพระอาจารย์ (เห็นจะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก) นอนหลับฝันไปว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของ ท่านจนหมดสิ้น แล้วตกใจตื่น ท่านได้พิจารณาลักษณะการที่ฝันเห็นว่า "ชะรอยจะมีคนนำเด็กมาฝากเป็นศิษย์ และเด็กนั้นต้องกอปรไปด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง ต่อไปจะเป็นผู้ทรงคุณเป็นอย่างวิเศษผู้หนึ่ง" ครั้นรุ่งเช้าท่านจึงสั่งพระและเณรว่า วันนี้ถ้ามีใครนำเด็กมาขอให้รอยพบท่านให้จนได้ เผอิญในวันนั้น
เจ้า คุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์นั้นก็ยินดีรับไว้ ด้วยพิเคราะห์เห็นพฤติการณ์เป็นจริงตามความฝัน
ในสมัยที่เป็นสามเณร ปรากฏว่า พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมากทรงรับไว้ในราชูปถัมภ์ถึงกับได้พระราชทานเรือกราบกันยาหลังคา กระแชงให้ท่านไว้ใช้ในกิจการส่วนตัว ( ความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ว่า "พระ มหาอุปราชในรัชกาลที่ ๓ ที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแชงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า นี้แสดงให้เห็นว่า เรือกราบกับยาหลังคากระแชงเป็นเรือเฉพาะพระองค์เจ้าทรง) แม้พระบาทพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ทรงพระเมตตา ครั้นอายุครบอุปสมบทเมื่อปีเถาะ จุล ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บวชเป็นนาคหลวง ที่ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชสังสฤษดิ์ เป็นอุปัชฌาย์ (วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดสลัก สมเด็จพระอนุชาธิราช (ในรัชกาลที่ ๑) กรมพระราชชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์โดยให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และสร้างเจดีย์เล็กๆ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ให้ก่อพระระเบียงรอบ และสร้างกุฎีตึก ๓ หลัง พระราชทานพระวันรัตเจ้าอาวาส และสร้างกุฏีเครื่องไม้ฝากระดานเป็นเสนาสนะ พอแก่พระสงฆ์ทั้งอาราม แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบพระอารามด้วย ครั้นเมื่อทรงปฏิสังขรณ์แล้ว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดนิพพานาราม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเปลี่ยนนามเสียใหม่ว่า วัดศรีสรรเพชญ์ ครั้นต่อมาอีกทรงพระราชดำริเห็นว่าวัดมหาธาตุยังไม่มี และก็วัดมหาธาตุเป็นที่อยู่ของสมเด็จพระสังฆราชแล้ว และครองอยู่ที่วัดนี้ (คนละองค์กับสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน แต่ชื่อสุกเหมือนกัน) จึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นมหาธาตุฯ ตามตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมาจนทุกวันนี้ อนึ่งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้เป็นพระฝ่ายคันถธุระ และเป็นอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตลอดจนการสั่งสอนพระปริยัติธรรมด้วย)
เรื่อง ประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่ เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความ ทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอัดยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกัว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระ สังฆราชนั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้ ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"
ยัง มีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุด แต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น) และแปลกยิ่งกว่านั้นก็คือ มีผู้เรียกท่านว่ามหาโตมาตั้งแต่แรกบวช ( ปรากฏในบัญชีรายนามพระสงฆ์พระราชทานฉันและสดัปกรณ์ราย ๑๐๐ ในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา รัชกาลที่ ๓ วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ แต่ไม่ลงปี มีนามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เขียนว่า "มหาโต เปรียญเอก บางแห่งว่า มหาโต เปรียญ ๔ ประโยคแรก) แต่บางคนเรียกว่า "ขรัวโต"
ทั้ง นี้เพราะเห็นว่าท่านมักชอบทำอะไรแปลกๆ ไม่ซ้ำแบบใคร นี้เป็นเรื่องธรรมดาของอัจฉริยบุคคล ซึ่งตามปรกติคนส่วนมาก ไม่ค่อยเข้าใจในอัจฉริยภาพอันมีความหมายสูง อัจฉริยบุคคลแทบทุกท่านเมื่อยังมีชีวิตอยู่ มักจะมีผู้เข้าใจว่าบ้าเสมอ มีมติอยู่ข้อหนึ่งว่า " อัจฉริยบุคคลและคนบ้านั้นอยู่ห่างกันเพียงก้าวเดียว" ว่าถึงความรอบรู้พระปริยัติธรรม ปรากฏว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก มีชื่อทั้งเป็นผู้เรียนก็เรียนเก่งกว่าใคร เป็นครูก็สอนได้ดีเยี่ยม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ศิษย์ที่เป็นเปรียญเอกและทรงสมณศักดิ์สูงคือหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพน
ต่อไปจะกล่าวถึงการศึกษาวิปัสสนาธุระของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก่อนจะกล่าวในเรื่องนี้จำจะต้องอธิบายถึงเรื่องวิปัสสนาธุระก่อน
            การเรียน "วิปัสสนาธุระ" นั้น คือเรียนวิธีที่จะชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส (การเรียน "คันถธุระ" หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า "พระปริยัติธรรม" คือเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยพยายามอ่านพระไตรปิฏกให้รอบรู้ในพระ ธรรมวินัย แต่การเรียนคันถธุระนั้นต้องเรียนหลายปี เพราะต้องเรียนภาษามคธก่อน ต่อเมื่อรู้ภาษามคธแล้วจึงจะอ่านพระไตรปิฏกเข้าใจได้) ผู้ที่บวชพรรษาเดียวไม่มีเวลาพอที่จะเรียนคันถธุระ จึงมักเรียนวิปัสสนาธุระอันเป็นการภาวนา อาจเรียนได้ด้วยไม่ต้องรู้ภาษามคธ และถือกันอีก อย่างหนึ่งว่า ถ้าเรียนวิปัสสนาธุระชำนาญแล้วอาจจะทรงวิเศษในทางวิทยาคมเป็นประโยชน์อย่าง อื่นตลอดจนวิชาพิชัยสงคราม เพราะฉะนั้น ผู้ซึ่งบวชแต่พรรษาเดียว จึงมักศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นประเพณี มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึง สมัยรัตนโกสินทร์นี้ ผู้ที่บวชแต่พรรษาเดียวหรือหลายพรรษาก็นิยมศึกษาวิปัสสนาธุระกันแพร่หลาย (หนังสือ "ความทรงจำ" พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "....เมื่อ พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เพราะฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้ทำตามเยี่ยงอย่าง ครั้นพระองค์ทรงผนวช ทรงรับอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ ตำหนักในวัดมหาธาตุทำอุปชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย ซึ่งพระราชทานนามว่า
"วัดราชาธิวาส" เมื่อ รัชกาลที่ ๔) ว่าโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒ การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญรุ่งเรือง ด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงวิทยาประเภทนี้ โดยโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ ในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบาตร์ ไตรจีวร กลด และบริกขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วทรงแต่งตั้งเป็น พระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ (ความพิสดารปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ ปีมะเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ (พ.ศ. ๒๓๖๔ เลขที่ ๗)
การศึกษาวิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สันนิษฐานว่าท่านจะได้เล่าเรียนในหลายสำนัก ด้วยในสมัยนั้น (โดย เฉพาะในรัชกาลที่ ๒) การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญแพร่หลายนัก มีครูอาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณอยู่มากดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทราบเป็นแน่นอนนั้นว่า ในชั้นเดิมท่านได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหารและในสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม และ ดูเหมือนจะได้เล่าเรียนจนมีความรู้เชี่ยวชาญแต่เมื่อยังเป็นสามเณร ด้วยปรากฏว่า เมื่อเป็นสามเณรนั้น ครั้งหนึ่งท่านได้เอาปูนเต้าเล็ก ๆ ไปถวายเจ้าคุณบวรฯ ๑ เต้า กับถวายพระในวัดนั้นองค์ละ ๑ เต้า เวลานั้นไม่มีใครสนใจ มีพระองค์หนึ่งเก็บปูนนั้นไว้ แล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ สัก ๓-๔ ลูก ภายหลังกลายเป็นลูกอมศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือกันขึ้นดังนี้ ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรีอีกองค์หนึ่ง (พระราชนิพนธ์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคราวเสด็จประพาศมณฑลอยุธยาเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ความตอนหนึ่งว่า "....ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดิมตั้งแต่เมืองลพบุรีเข้าลงไปเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนนางรู้จักหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์ (คือ วัดเกาะ ซึ่งเจ้าพระยายมราช (เฉย) ต้นสกุล ยมาภัย สร้าง) ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้ หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้ ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย ราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งผู้อื่นช่วย เมื่อตายแล้ว ไม้ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่.....)
พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน (สุก) (สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้ง หลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่องได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่อชาดก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฎฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ
อนึ่ง ในตอนที่ถูกอาราธนามาจากวัดท่าหอยนั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับ แล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมออกมาอีก และเจ้านายที่ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ นั้น ต้องไปศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (ขณะที่ทรงเป็นพระญาณสังวร) พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็ดี ตลอดจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระมาจากสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น อัจฉริยภาพ ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้าง ตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับวัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่าน ขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก สมเด็จพรพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้นที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราลพเจดีย์"(พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิราจุมพฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ) เมื่อ พิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่า
พระ สมเด็จฯฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว
อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง นอก จากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะได้ศึกษาวิปัสสนาธุระมายาศาสตร์มาเป็นเวลาช้านานอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ว่าท่านได้ศึกษาจนมีความรู้ความชำนาญ ทั้งในคันถธุระ,  วิปัสสนา ธุระ และมายาศาสตร์    กับมีคุณวุฒิอย่างอื่นประกอบกันเป็นอันมาก   ท่านจึงเป็นผู้ทรงคุณ วิเศษเป็นมหัศจรรย์ยิ่งนัก นับได้ว่าเป็นวิสามัญบุรุษหรืออัจฉริยบุคคลที่หาได้ยากที่สุดในโลกคนหนึ่ง ความที่กล่าวข้อนี้มีมูลความจริง ที่จะพิสูจน์ได้ จากเรื่องราวในชีวประวัติของท่านซึ่งจะบรรยายต่อไปข้างหน้า



เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ที่ไม่ปรากฏนายศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่ยอมรับเป็นฐานนานุกรมในรัชกาลที่ ๓ พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านทูลขอตัวเสีย เล่ากันว่า เพราะท่านเกรงว่าจะต้องรับพระราชทานสมณศักดิ์ ท่านจึงมักหลบหนีไปพักแรม ณ ต่างจังหวัดห่างไกลเนื่องๆ (ว่า โดยมากไปธุดงค์) บางทีก็เลยไปถึงประเทศเขมรก็มี (ดูตอนประวัติการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบ) ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าคุณธรรม ของ ท่านยิ่งหย่อนเพียงไร จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ เวลานั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีแล้ว แต่จะทรงตั้งในวันเดือนใดไม่ปรากฏ ปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ จุลศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๒๓๙๕) เล่น ๑๘ ตอนหนึ่งความว่า "...อนึ่ง เพลาเช้า ๓ โมง นายพันตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยพระประสิทธิศุภการรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสั่งว่าทรงพระราชศรัธาให้ถวายนิตยภัตน์พระธรรมกิตติ วัดระฆังฯ เพิ่มขึ้นไปอีก ๒ บาท เข้ากับเก่าใหม่เป็นเงินเดือนถวายพระธรรมกิตติอีก ๒บาท ตั้งแต่เดือนยี่ ปีชวด จัตวาศก ไปจนทุกเดือนทุกปีอย่าให้ขาดได้....."
ใน ตอนพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ มีเรื่องเกร็ดเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถามเจ้าพระคุณสมเด็จฯว่า "เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ทำไม่ท่านจึงหนี ไม่ยอมรับยศศักดิ์ ต่อที่นี้ทำไมจึงยอมรับไม่หนีอีก" ท่านถวายพระพรว่า "รัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ทรงเป็นเจ้าฟ้า (คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้เป็นเจ้าฟ้าลูกยาเธอ เป็นแต่พระองค์เจ้า) เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้น ท่านจึงพ้น ส่วนมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า เป็นทั้งเจ้าฟ้าและเจ้าแผ่นดินท่านจะหนีไปทางไหนพ้น" เราย่อมทราบได้ว่านี่ไม่ใช่เหตุผล แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ใช้ปฏิภาณตอบเลี่ยงไปในทำนองตลกได้อย่าง งดงามกล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล ไม่ตรัสว่ากระไร (และคงจะเป็นเพราะไม่ทรงทราบว่าจะตรัสว่ากระไรดีกระมัง-ผู้เขียน) แล้วโปรดให้มาครองวัดระฆังฯ (วัด นี้เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ขึ้นครองราชย์  ทรงแต่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ และ
พระ พิมลธรรม (ไม่ทราบนามทั้ง ๓ องค์) ให้ทรงสมณศักดิ์ตามเดิม (ถูกพระเจ้ากรุงธนฯ ถอด) และให้สมเด็จพระสังฆราช มาครองวัดบางหว้าใหญ่ ทรงให้รื้อตำหนักทองของพระเจ้ากรุงธนฯ ไปปลูกเป็นกถฏถวายสมเด็จพระสังฆราชและทรงปฏิสังขรณ์ทั่วๆ ไป เสร็จแล้วทรงเปลี่ยนนามวัดว่า วัดระฆังโฆสิตาราม ดังปรากฏสืบมาทุกวันนี้)
ครั้น เสร็จพระราชพิธีแล้ว ท่านก็ออกจากพระบรมมหาราชวังข้ามไป วัดระฆังฯ หอบเครื่องไทยธรรม ถือพัดยศและย่ามมาเอง ใครจะรับก็ไม่ยอมส่งให้ เที่ยวเดินไปรอบวัดร้องบอกกล่าวดังๆว่า "ในหลวงท่านให้ฉันมาเป็นสมภารวัดนี้จ๊ะ" พวกพระเณรและคฤหัสถ์ที่มาคอยรับต่างพากันเดินตามท่านไปเป็นขบวน เมื่อบอกกล่าวเขารอบๆวัดแล้ว ท่านจึงขึ้นกุฏิ (มิ ใช่เป็นการโอ้อวดหรือปิติยินดี แต่เป็นการแฝงไว้ซึ่งอัจฉริยภาพอันหนึ่งที่มองโลกไปในแง่แห่งความขบขัน คือหนีการแต่งตั้งไม่พ้น-ผู้เขียน)
ต่อมาอีก ๒ ปี ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวีครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศมรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์องค์ที่ ๕ ในกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวตามลำดับดังนี้ คือ
๑. สมเด็จพระพุฒจารย์ (ไม่ทราบนามเดิม) อยู่วัดอมรินทร์ (ซึ่ง ครั้งนั้นเรียกว่าวัดบางว้าน้อย) ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าต้องถูกถอดถูกเฆี่ยนด้วยไม่ยอมถวาย บังคมพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงรัชกาลที่ ๑ จึงโปรดให้เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์ตามเดิม
๒. สมเด็จพระพุฒจารย์ (อยู่) วัดระฆังฯ
๓. สมเด็จพระพุฒจารย์ (เป้า) วัดอินทาราม (เดิมเรียกวัดบางยี่เรือใต้)
๔. สมเด็จพระพุฒจารย์ (สน) วัดสระเกศ (เดิมเรียกวัดสะแก)
๕. สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) วัดระฆัง ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น