รวมบทความธรรมะดีดี และเผยแผ่เกี่ยวกับคุณธรรม ความดี ให้คนในปัจจุบันได้นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตที่อยู่กับปัจจุบัน
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555
คิดบวก ชีวิตบวก แนวคิดจากท่าน ว.วชิรเมธี
คิดบวก ชีวิตบวก แนวคิดจากท่าน ว.วชิรเมธี
เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ(perfectionist)
เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ
เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงมีความหมาย
เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้ชีวิต
เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี
เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง
เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจนความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง
เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ
เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดังใจหวัง
เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง
เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์
เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด
เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบว่าที่ "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤตย่อมมีโอกาส"
เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต
เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์
ที่มา: มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
คำกลอนภัยพิบัติโลก หลวงปู่เทพโลกอุดรฝากผ่านมายังหลวงปู่ภารตะ ฤาษี
วันนี้ผมได้รับเมลล์ฟอร์เวิร์ดมาอันหนึ่ง แล้วได้ลองเปิดอ่านดู เค้าได้เขียนเอาไว้เป็นบทกลอน อ่านแล้วเข้าใจง่าย สามารถแปลออกมาเป็นความหมายได้ไม่อยาก ซึ่งเป็นบทกลอน บอกเตือนภัยพิบัติโลก ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จากหลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ได้ฝากเตือนมายัง หลวงปู่ภารตะ ฤาษี (บัวขาว) ซึ่งผมเห็นแล้วว่า น่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวภัยพิบัติโลก ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และก็น่าจะเกิดขึ้นอยู่ต่อไป จนกว่าที่จบวาระกรรมของมนุษย์ที่ได้ทำเอาไว้ และก็จนกว่าโลกจะปรับสมดุลของตัวมันเอง เพื่อรักษาเยี่ยวยาอาการป่วยตัวมันเอง ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่แข็งแรง และก็ยังคงหมุนวนอยู่ในระบบสุริยะของเราอยู่ต่อไปได้ ตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์ อาศัยอยู่บนโลกกลมๆ ใบนี้ ลองอ่านดู เผื่อว่าคุณอาจจะได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อยจากบทกลอนนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน ในการจะรับมือกับภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ (ซึ่งตอนนี้หลายๆ ประเทศก็เกิดขึ้นมาแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งจะเกิดขึ้น สึนามิซัดถล่มทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น และผมก็เชื่อว่ามันน่าจะเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน เพียงแต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามันเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร หรือก็อาจจะเป็นประเทศไทยของเราก็เป็นได้ เพราะว่ามันก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งที่ภาคใต้ของเรา)
บทกลอนเค้าเขียนเอาไว้ว่าดังนี้
ขอยกกลอน สอนใจ ในยามยาก ช่วงลำบาก ไว้เป็น อุทาหรณ์
โลกทั้งโลก กำลัง จะสั่นคลอน เพื่อสะท้อน ผลกรรม คนทำมา
จากวันนี้ ต่อไป ภายภาคหน้า ในไม่ช้า วิบากกรรม วิ่งเข้าหา
ให้โหยหวน คร่ำครวญ แสนเวทนา คนทั่วหล้า ต่างล้มหาย ตายเป็นเบือ
หากไม่เชื่อ ให้เผ้าดู จะรู้สึก ต้องสะอึก เมื่อไม่มี สิ่งใดเหลือ
ทุกวันนี้ มีใช้ อย่างเหลือเฟือ จะไม่เหลือ ให้ใช้ ในบัดดล
คนหลายคน วกวน เพื่อเสพสุข ไม่เคยทุกข์ ร้อนใจ ให้ขัดสน
เฝ้าเอาเปรียบ เบียดเบียน หมู่ผู้คน ไม่เคยสน เวรกรรม มันมีจริง
ไม่ว่าใคร ใดใด ในโลกนี้ ชั่วหรือดี ทุกเยาว์วัย ชายหรือหญิง
สัจธรรม เท่านั้น คือความจริง ทุกสรรพสิ่ง หนีไม่พ้น ผลของกรรม
คนคิดดี ทำดี ย่อมมีสุข พ้นกองทุกข์ ชีวี ไม่แปรผัน
พาพ้นทุกข์ สิ้นวิบัติ ในฉับพลัน บุญเท่านั้น ที่หนุนนำ คนทำดี
ผิดกับคน ที่ทำผิด และทำพลาด ต้องถึงฆาต บาปกรรม ซ้ำเป็นผี
ครั้งอยู่ดี มีสุข ไม่ใฝ่ดี พอจะม้วย ชีวี แล้วใฝ่บุญ
กุศลหนุน บุญใด ไหนจะช่วย มีแต่ซวย เท่านั้น ที่เกื้อหนุน
เกิดเป็นคน ไม่เคยคิด ตอบแทนคุณ จะเอาบุญ ที่ไหน มานำพา
อีกไม่นาน ก็ถึง กึ่งพุทธะ เป็นจังหวะ รอยต่อ ศาสนา
สิ่งทุกสิ่ง ย้อนกลับ สู่เวลา ทรัพย์ไร้ค่า คนยึดจิต อภิญญา
ถิ่นกาขาว ยาวนาน จะผันผ่าน พระศรีอารย์ อริยะเมตไตร เข้ามาหา
ศรีวิไล ใฝ่ธรรม ทุกเวลา เทวดา ปกป้อง ตลอดกาล
อยากอยู่ดี มีสุข ถึงยุคนั้น ต้องช่วยกัน สร้างกรรมดี ไว้สืบสาน
ภัยวิบัติ โลกสลาย อีกไม่นาน สิ้นคนพาล เหลือคนดี ไม่กี่คน
คำยืนยัน ปู่ฤาษี ภารตะ ให้สละ อย่ายึดมั่น อย่าสับสน
ให้รู้ไว้ ภัยจะถึง ทุกตัวตน ให้ทุกคน หลบลี้ หนีออกมา
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จะบังเกิด จำไว้เถิด จะสิ้นยุค กลุ่มเศรษฐี
ที่คดโกง ฉกฉวย จนได้ดี จะสิ้นที หมดท่า พาตรอมตรม
บาปและกรรม ตามซ้ำ ไม่ย่อหย่อน กินหรือนอน เดินนั่ง ช่างขื่นขม
ถึงรวยทรัพย์ เคยยิ่งใหญ่ ยิ่งระทม ก็จะล้ม จมดิ้น สิ้นกันไป
จากสี่เก้า เข้าถึง ปีหกสอง ฟ้าจะร้อง คำราม สุดหวั่นไหว
ธรณี จะโกรธ เป็นพื้นไฟ พระพรายไซร้ จะถามโถม โจมตีเรา
พระคงคา จะไหลบ่า หุ้มเปลือกโลก ดาวนอกโลก พุ่งชน คนอับเฉา
ให้รีบลุก และตื่น เถิดพวกเรา รีบเดินหน้า ถึงธรรม ค้ำชีวา
ภาคกลางหนึ่ง ใต้หนึ่ง พึ่งจำไว้ จมอยู่ใต้ คงคา แน่นักหนา
ผืนแผ่นดิน คลุมด้วยน้ำ สุดลูกตา ชาวประชา ไร้แผ่นดิน สิ้นชีพวาย
เหนืออีสาน ตอนล่าง ต่างรันทด แผ่นดินลด หดหู่ ไม่รู้หาย
เหลือก็น้อย คนบุญ ที่รอดตาย นอกนั้นไซร้ ไร้ชีวิต วิบัติภัย
บนท้องฟ้า มืดมน ฝนห่าใหญ่ ห่อหุ้มไว้ เจ็ดราตรี อรุณฉาย
สัตว์เล็กใหญ่ ดับดิ้น แทบวอดวาย ที่ไม่ตาย กลายมีพิษ ปลิดชีพกัน
พายุลม สลาตัน นับว่าร้าย ก็ไม่ว่าย ต้องแพ้ ลมกรรมหันต์
ฝนที่ไหน พัดที่ใด ตายฉับพลัน ไม่มีควัน มีแต่พิษ ชีวิตวอดวาย
พลังจากนั้น คนที่เหลือ จะแปรเปลี่ยน บำเพ็ญเพียร ภาวนา ไม่ขาดสาย
ทุกข์และโศก โลกมนุษย์ จะผ่อนคลาย ศรีอริยะเมตไตร จะบรรเจิด เกิดขึ้นพลัน
สร้างมนุษย์ สร้างโลก ให้ผุดผ่อง ตามครรลอง ศรีวิไล ให้เฉิดฉันท์
สิ้นทุกข์โศก โรคภัย ไม่โรมรัน จิตเท่านั้น ที่วัดใจ ให้อยู่ยืน
ทรัพย์เงินทอง ก่ายกอง เต็มไปหมด ช่างรันทด ไม่มีค่า เท่าผ้าผืน
สิ่งที่หา และใฝ่ ทุกวันคืน ที่ยั่งยืน คือจิต ผ่องอำไพ
อาศัยกรรม ทำดี ช่วยชูค้ำ ให้ได้นำ สู่ภิญญา น่าสดใส
ทั้งอิ่มเอิบ อิ่มกาย อิ่มจิตใจ พระยาธรรม นั่นไซร้ คือกฏเกณฑ์
หากไม่เชื่อ สิ่งที่กล่าว ชาวโลกเอย จำไว้เลย นี่คือแท้ แน่นักหนา
เฝ้าติดตาม การเปลี่ยนแปลง ทุกเวลา จะรู้ว่า เริ่มตั้งเค้า เข้าสู่กาล
หายุโหม น้ำท่วม แผ่นดินไหว โลกทั้งใบ ไม่แน่น ไร้แก่นสาร
ธาตุดินน้ำ ลมไฟ ถูกรุกราน จากวิญญาน กาลอดีต กรีดทำลาย
คนทั่วโลก จะพบ ภัยพิบัติ สารพัด ปัญหา ให้แก้ไข
ทั้งเรื่องโลก เรื่องคน จนวุ่นวาย แก้อย่างไร ก็ไร้ค่า พาล้มครืน
เป็นด้วยเหตุ อาเพศ โลกใบนี้ ถูกย่ำยี จากมนุษย์ สุดทนฝืน
มุ่งทำลาย ล้างผลาญ ทุกค่ำคืน ไม่อาจฝืน ขืนปล่อยไว้ ใจโลกตรม
มอบให้เหล่าท่านทั้งหลายได้พิจารณา เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ด้วยสติปัญญาของตนเอง
จากหลวงปู่ ภารตะ ฤาษี (บัวขาว)
ผู้ประพันธ์ คุณฐิติศักด์ ฐิติพงศ์ทัพพ์
รวมคำสอนของพระอรหันต์
๑. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
วิปัสสนานี้ มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือ มนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว
อนึ่งยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์ คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐ จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิตทั้งภายใน ภายนอกมีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ยากยิ่งนัก เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบ บางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย
วิปัสสนานี้ มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือ มนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว
อนึ่งยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์ คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐ จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิตทั้งภายใน ภายนอกมีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ยากยิ่งนัก เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบ บางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย
๒. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก...การบำรุงรักษาตนคือ ใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือ ใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ "ตน" ว่าเสวยเป็นอันผิดทั้งนั้น
ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก
การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก...การบำรุงรักษาตนคือ ใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือ ใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี
ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ "ตน" ว่าเสวยเป็นอันผิดทั้งนั้น
ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก
๓. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ส่วนธรรมะ ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้ว อย่างอื่นก็เข้าใจเอง หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองสึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม
ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกลใช้สติระลึกไปแต่ในภายในกายนี้ ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระ แก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่ายคลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน
การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้) การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม
การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง
ผู้ที่ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรก สวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามมตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมได้เลื่อนฐานะของตนโดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ
๔. หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี
ตามกระแสพระธรรมเทศนาของสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าทุกข์เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้ ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหาก เป็นของควรละ ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น
ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใครๆ ในโลกนี้ จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน
แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์
หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็นของไม่มีตนไมมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี ดังนี้ต่างหาก
การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้นคือ "ปัญญาชั้นต้น"
คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโส หรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่
ตามกระแสพระธรรมเทศนาของสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าทุกข์เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้ ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหาก เป็นของควรละ ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น
ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใครๆ ในโลกนี้ จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน
แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์
หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็นของไม่มีตนไมมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี ดังนี้ต่างหาก
การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้นคือ "ปัญญาชั้นต้น"
คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโส หรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่
๕. หลวงปู่ขาว อนาลโย
สติเป็นแก่นของธรรม แก่นของธรรมแท้อยู่ที่สติ ให้พากัน หัดทำให้ดี ครั้นมีสติแก่กล้าดีแล้ว ทำก็ไม่พลาด คิดก็ไม่พลาด กุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลอยู่กับสติแล้ว สติเป็นใหญ่ สติมีกำลังดีแล้ว จิตมันรวม เพราะสติคุ้มครองจิต
คาถาเงินล้าน
(เป็นคาถาของพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
(ตั้ง นะโม ๓ จบ )
( บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)
(ตั้ง นะโม ๓ จบ )
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ
มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
คำอธิบาย
หลวง พ่อได้คาถาบทเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ(องค์ปฐม)ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่า คาถาที่ได้จากกรรมฐาน เขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เวลา 23.59 น. องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลาน และพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อีกทั้งการก่อสร้างของวัดท่าซุง จะต้องเร่งรัดให้เสร็จทันฉลองวัดในปี 2532 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ช่วย เพื่อพุทธบริษัท และลูกหลานของหลวงพ่อ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น คาถา"นาสังสิโม" หลวงพ่อให้ท่องเพิ่มเติมเมื่อปี 2532 คาถา"เพ็งๆ พาๆหาๆฤาๆ" พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อ เมื่อพฤศจิกายน 2533 เป็นภาษาโบราณ แต่เทียบกับภาษาไทยอ่านได้อย่างนี้เป็น "คาถามหาลาภ" มีผลยิ่งใหญ่มาก......
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
|
|
|
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ
การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
เมื่อหลวงปู่มั่นอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษา หาความรู้ ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัย ในทางบวช มาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก คำสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ
ครั้นอายุหลวงปู่มั่นได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ศึกษาในสำนัก ท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรม เป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง ฯ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะ ขนานนาม มคธ ให้ว่า ภูริทตโต เสร็จ อุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ณ วัดเลียบ ต่อไป
เมื่อแรกอุปสมบท หลวงปู่มั่น พำนักอยู่วัด เลียบ เมืองอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้างเป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัยคือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌายาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทาน ธุดงควัตร ต่าง ๆ
ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขาท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอิสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิก และอุบาสก อุบาสิกา ต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอิสาน
ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษา วัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออกไปพักตามที่วิเวก ต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบัน คือ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษาจำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใจ อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย มีศิษยานิศิษย์มากหลาย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตร ที่ท่านถือปฏิบัติ เป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล จนกระทั่งวัยชรา จึงได้ใช้ คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาติกังคธุดงค์ คือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั้งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ คือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียว เป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลาแม้อาพาธหนัก ในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ คืออยู่เสนา สนะป่า ห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ตามสมณวิสัย
เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจาร บิณฑบาต เป็นที่ ๆ ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นคราวที่ไปอยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวก มูเซอร์ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วย กาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้
๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเป็นเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนเป็นคำกลอนว่าแก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่ ดังนี้
เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ ถือลัทธิฉันเจให้เข้าใจในทางถูก และเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวเป็นคติขึ้นว่า เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถึกดงเสือฮ้ายดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาทของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดยยึดหลักธรรมชาติของศิลธรรม ทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลายท่าน แสดงเอาแต่ใจความว่า....
การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง
การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง.... นี้แล คือ คำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป... ถ้าทางการไม่ทำ แต่ทางวาจายังทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือสั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศิลธรรม และคอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศิลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์
ปัจฉิมบท
ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุกวิหารหลายแห่งคือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง ฯ (ปัจจุบัย เป็นอำเภอ โคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ ๆ แถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต
ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอน ศิษยานุศิษย์ทางสมถ วิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ แล้วให้ชื่อว่า มุตโตทัย
ครั้นมาถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาล ไปตามกำลังความสามารถ อาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษา แล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และ ศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาลอาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ
ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาถึงวัดป่าสุทธาวาส ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณ พระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา
การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่มั่น ประมวลในหลัก ๒ ประการดังนี้
๑. ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศิลธรรมอันดีงาม แก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุก ๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอิสานเกือบทั่วทุกจังหวัด ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศ ทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศิลธรรมดี มีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครอง ของ ผู้ปกครองชือว่า ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย
๒. ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชา และอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริง ๆ ครั้นบวชแล้ว ก็ได้ เอาธุระทางพระพุทธศาสนาด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริง ๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญ สมณธรรม
หลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัด ถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้ว ในเบื้องต้น ได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัย ได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และพระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักการสมถวิปัสสนา อันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ เป็นผู้มีนำใจเด็ดเดี่ยวอดทนไม่หวั่นไหวต่อ โลกธรรม แม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตาม ความมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมาทำตัวให้เป็น ทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่าง ๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือ เกือบทุกจังหวัด ของภาคอิสานและแถมบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้ว ท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้น ๆ ด้วย ผู้ได้รับสงเคราะห์ ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็น
มนุษย์พบพระพุทธศาสนา
ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธรฐานานุกรม ของ เจ้าพระคุณพระอุบาลี ฯ (สิริจันทรเถระจันทร์) ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้น โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย
งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่าท่านได้ทำเต็มสติกำลัง ยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติ ตลอดมา นับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน อาจกล่าวได้ ด้วยความภาคภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณ เด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน
คำคมโดย ท่าน ว.วชิรเมธี
คำคมโดยท่าน ว.วชิรเมธี
1. คนธรรมดาทำบุญก็อยากได้บุญ คนมีปัญญาทำบุญหวังจะเกิดในภพใหม่ที่ดีกว่าเดิม แต่ชาวพุทธแท้ทำบุญเพื่อการปล่อยวางกิเลสอย่างสิ้นเชิง
2. สิ่งที่ตาเห็นอย่าเพิ่งสรุปว่ามี สิ่งที่คนยอมรับว่าดีอย่าเพิ่งบอกว่าเห็นด้วย
3. ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี
4. นักปราชญ์ตะวันตกกล่าวว่า อำนาจทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งเสียคนแบบเบ็ดเสร็จ
5. ดาบที่ดีต้องมีฝัก ความสามารถที่ดีต้องมีจริยธรรม
6. พ่อแม่ที่ดีต้องมีพรหมวิหาร 4 หน้า หน้า 1 เมตตา หน้า 2 คือ กรุณา หน้า 3 คือ มุทิตา หน้า 4 คือ อุเบกขา
7. ยามปกติเลี้ยงลูกด้วยเมตตา ยามมีปัญหาคอยช่วยเหลือด้วยกรุณา ยามลูกทำดีคอยส่งเสริมด้วยมุทิตา ยามลูกทำผิดปล่อยให้รับกรรมด้วยตัวเอง คือ อุเบกขา
8. รอยเท้าแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ไม่ใช่รอยเท้าของมนุษย์ แต่เป็นรอยเท้าแห่งจินตนาการ
9. การแก้กรรมคือการแก้ที่ความหลงผิด การแก้กรรมคือการเลิกทำความชั่ว ดังนั้นการแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์หรือทำพิธีจากเกจิ
10. คนที่รู้เรื่องกรรมดีที่สุดคือตัวเราเอง คนที่แก้กรรมได้ดี่ที่สุดคือตัวของเรา การแก้กรรมต้องทำด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่ด้วยพิธีกรรมแปลกๆ
11. คนขุดบ่อน้ำก็ลงต่ำอยู่ในดิน คนก่อกำแพงก็ขึ้นสูงตามกำแพงที่ก่อ ฉันนี้ฉันใดคนทั้งหลายก้เป็นเช่นนั้น จะสูงจะต่ำขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
12. คนฉลาดชอบแกล้งโง่ คนโง่ชอบเสแสร้งว่าฉลาด ส่วนนักปราชญ์เรียนรู้ที่จะฉลาดและเรียนรู้ที่จะโง่
13. กฎแห่งกรรมไม่ต้องืวีซ่า กฎแห่งกรรมไม่ยกเว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม กฎแห่งกรรมไม่มีวันหยุด กฎแห่งกรรมเที่ยงธรรมตลอดกาล
14. บิล เกตต์ เรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
15. อย่ายึดติดกับความหลัง อย่าฟังเสียงปาปมิตร (มิตรชั่ว) อย่ามัวคิดริษยา อย่าเสียเวลากับคนเลวทราม
16. คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์
17. ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน ปัญญาเป็นยอดแห่งสิริมงคลความถ่อมตนเป็นยอดแห่งเสน่ห์
18. รถทุกคันล้วนมีเบรก รถทุกคันล้วนมีท่อไอเสีย คนทุกคนต้องมีเบรกคือสติ ต้องมีท่อไอเสียคือการปล่อยวาง
19. ความทุกข์ไม่เคยยึดติดเรา มีแต่เราต่างหากที่ยึดติดความทุกข์ ความสุขไม่เคยไปจากใจเรา มีแต่เราต่างหากที่ไม่เคยถนอมมันไว้ในใจของเรา
20. ยศ ทรัพย์ อำนาจเป็นเพียงมรรควิธีที่ทำให้ชีวิตนี้มีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเป้าหมายในการเกิดเป็นมนุ๋ย์
21. ทำผิดแล้วรู้สึกผิดต่อไปจะเป็นคนดี ทำผิดแล้วรู้สึกว่าเป็นความดีกาลกิณีจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
22. ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทาน ที่สุดของคนคือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข
23. ความรักไม่เคยทำให้ใครทุกข์ การไม่รู้จักธรรมชาติของความรักต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมชาติของความรักคือเกิดขึ้นในเบื้องต้น ดำรงอยู่ในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
24. โลกนี้มีผี 6 ตัวที่น่ากลัวกว่าผีไหนๆ 1.ผีสุรา 2.ผีเที่ยวกลางคืน 3.ผีมหรสพ (ติดใจในความบันเทิงจนเกินพอดี) 4.ผีการพนัน 5.ผีคบคนชั่วเป็นมิตร (คนชั่วอยู่ไหนชอบเถลไถลไปสนิทสนม) 6.ผีขี้เกียจ ผี 6 ตัวนี้ต้องปราบด้วยปฏิบัติธรรม
ขอบคุณบทความจากธรรมจักรดอทเน็ต
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555
พระคาถาศักดิ์สิทธิ์
สวัสดีครับ ผมมีคาถาอีกคาถาหนึ่งที่น่าสนใจ
คาถานี้อาจจะเคยมีผู้มาเผยแพร่แล้ว แต่หากยังไม่มีขอนำเสนอให้กับญาติมิตรทุกท่านนะครับ
ลองอ่านดูจากบทความตามนี้ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมเล่มหนึ่งเรื่องของคนตายแล้วไปถูกนำตัวไปนรก
แต่เผอิญว่าเมื่อท่านพญายมบาลตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเจ้าพนักงานได้จับผิดตัวมา ชายผู้นี้ยังไมถึงที่ตาย
แต่เผอิญชื่อเขา เหมือนกับคนที่ต้องตายอีกคนหนึ่ง ท่านพญายมบาล จึงให้เจ้าพนักงานนำตัวชายผู้นั้นไปส่ง ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถูกส่งตัวกลับ
ท่านพญายมบาลได้แนะนำคาถาบทหนึ่ง ซึ่งเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์
ที่สามารถช่วยคุ้มครองภยันตราย และช่วยลดเคราะห์กรรมต่างๆในชีวิตได้เพราะท่านบอกว่าต่อไปโลกมนุษย์จะต้องเจอความยากลำบากมากมาย
ในการดำเนินชีวิต แต่คาถาบทนี้จะช่วยให้ชีวิตของผู้สวด ที่เจอเคราะห์กรรมใดๆ ต้องทุกข์ร้อนเรื่องความเป็นอยู่
จะได้ดีขึ้น แล้วท่านบอกให้ชายผู้นั้นได้บอกต่อกับคนที่อยู่ในโลกมนุษย์ด้วย เพื่อเอาบุญซึ่งตอนนั้น
ที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนั้นผมก็มีวิบากกรรมเล่นงาน ทั้งการการงาน การเงิน
ย่ำแย่เลยผมก็ได้สวดคาถาบทนี้ หลังจากนั้นไม่นาน ชีวิตผมก็ดีขึ้นจริงๆ ครับ เรื่องงาน
เรื่องเงิน ดีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ ขอให้ทุกท่านได้สวดคาถานี้บ่อยๆ
เป็นประจำ ก่อนนอน หรือตอนเช้าหรือยามที่จิตสงบ และคาถาบทนี้ เป็นคาถาสั้นๆ จำได้ง่าย
ท่องบ่อยๆจะทำให้จำได้ขึ้นใจ แล้วอย่าลืมอุทิศส่วนบุญนี้ให้แด่ท่านพญายมบาลที่บอกคาถานี้ด้วยนะครับ
ท่านบอกว่า ก่อนสวด ให้ ตั้ง นะโม 3 จบ
แล้วสวดพระคาถาดังนี้
แล้วสวดพระคาถาดังนี้
ปะโตเมตัง ปะระชิ วินัง สุขะโต จุติ
จิตตะ เมตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ
เมื่อท่านได้อ่านกระทู้นี้แล้ว หากมีศรัทธาในพระคาถานี้ ขอให้แนะนำบอกต่อๆกันไป ซึ่งจะเป็นผลบุญกับท่านให้ได้พบความเจริญยิ่งๆ ขึ้น
ชาติภูมิ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า "โต" (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า "โต" ) นามฉาย าว่า "พฺรหมรังสี" เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า "โต" (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า "โต" ) นามฉาย าว่า "พฺรหมรังสี" เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑
มีผู้รู้ตำราโหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาของท่านไว้ดังนี้ (ในหนังสือ "ประวัติขรัวโต" ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรม พระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศน์ผู้เขียน) ทรงคำนวณถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยมีพระประสงค์จะทรงทราบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปจะมีดวงชะตาเป็นอย่างไร แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งได้ประทานให้แก่พระยาทิพโกษา ลอกคัดเก็บรักษาไว้อีกต่อหนึ่ง ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ว่านี้ลัคนาสถิตราศีใดหาทราบไม่ แต่ได้ค้นพบในที่อื่นอยู่ในหอพระสมุดแห่งชาติ ปรากฏว่าโหรวางลัคนาไว้ในราศีเมษ แต่พบในที่อื่นอยู่ในราศรีพฤษภ. (มหาเฮง วัดกัลยาณ์)
สำหรับ
ดวงที่ท่านเห็นอยู่นี้ ผูกขึ้นจากข้อมูลการเกิดข้างต้น
เพียงแต่ลงตำแหน่งดาวเพิ่มขึ้นจากเดิม ๓ ดวง คือ เนปจูน (น) พลูโต (พ)
และแบคคัส (บ) โดยได้วางลัคนาไว้ที่ราศีพฤษภ
เนื่องจากช่วงเวลาที่พระบิณฑบาตร กว่าจะออกจากวัดตอนหกโมงเช้า
พายเรือมากว่าจะถึงบ้านโยม ก็คงใช้เวลาอย่างน้อยเป็นชั่วโมง
เพราะต้องรับบาตรเรื่อยมา เวลาที่ลงไว้ เมื่อวางลัคนา
และเทียบกับอัตตชีวประวัติ ตลอดจนอุปนิสัยของท่านแล้ว เชื่อว่า ถูกต้อง
ตรงกับความเป็นจริง มากกว่าที่จะอยู่ในราศีเมษ (อ.เล็ก พลูโต )
วงศ์สกุล
วงศ์สกุลของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กล่าวกันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นพระราชโอรส ในพระองค์พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และตลอดจนชั้นสามัญชนทั่วไป ก็เข้าใจกันว่าเป็นเช่นนั้น แต่เรื่องนี้ไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งจึงไม่ขอยืนยัน มารดาชื่อเกสร (ธิดา นายชัย) เดิมเป็นชาวบ้านตำบลท่าอิฐ อำเภอท่าโพธิ์ ต่อมาในสมัยหนึ่งการทำนาไม่ได้ผลเพระฝนแล้งมาหลายปี จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่อย่างน้อยที่สุดท่านต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี (ความปรากฏในจดหมายเหตุบัญีน้ำฝน ของสมเด้จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เล่น ๓ หน้า ๔๔ ว่า
"...วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุล. ๑๒๓๔ เวลา ๒ ยาม สมเด้จพระพุฒาจารย์ถึง "ชีพิตักษัย....." ดัง
นี้ส่อให้เห็นว่าท่านต้องเป็นเชื้อพระราชวงศ์)
กล่าวกันว่าเมื่อท่านเกิดแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นทารกนอนเบาะ
มารดาพาท่านไปพักอยู่ที่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านสอนเดินได้ มารดาก็พาท่านมาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนครสืบมา (ในกาลหลังท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้ ณ ตำบลทั้งสามเป็นอนุสรณ์)
อุปสมบทและการศึกษา
ปรากฏว่าเมื่อเยาว์วัย ท่านได้รับการศึกษาอักขรสมัยในสำนัก เจ้าคุณอรัญญิก (เจ้าคุณอรัญญิกเป็นชาวเวียงจันทน์ เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ มีคนนับถือมาก นามเดิมของท่านเข้าใจว่าชื่อแก้ว)
วัดอินทรวิหาร (วัดนี้เป็นวัดโบราณ ใครสร้างไม่ปรากฏที่กล่าวในหนังสือ
เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
เป็นผู้สร้างนั้น เห็นจะหมายความว่า ท่านได้ปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก
เดิมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ต่อมาพระองค์เจ้าอินทวงศ์ในกรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทรราม ภายหลัง (ในรัชกาลที่ ๖) ทางการคณะสงฆ์ พิจารณาเห็นว่านามพ้องกับวัดอินทาราม (วัดบางยี่เรือใต้) คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดอินทรวิหาร" ปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้
วัดอินทรวิหาร (วัดนี้เป็นวัดโบราณ ใคร
สร้างไม่ปรากฏ
ที่กล่าวในหนังสือเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
เป็นผู้สร้างนั้นเห็นจะหมายความว่าท่านได้ปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก
เดิมเรียกว่า "วัด
บางขุนพรนอก" ต่อมาพระองค์เจ้าอิทรวงศ์ในกรมพระราชวังบวรฯ รัชกาลที่ ๓
ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทรราม ภายหลัง (วัดบางยี่เรือใต้)
คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดอินทรวิหาร" ปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้
ครั้นอายุ ๑๒ ปี ในปีวอก พ.ศ.
๒๓๔๓ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (จะบรรพชาที่วัดสังเวชฯ
หรือวัดอินทรวิหารไม่ทราบแน่ แต่สันนิษฐานว่าจะบรรพชาที่วัดอินทรวิหาร
ด้วยเป็นสำนักที่ท่านเคยอยู่และศึกษาอักขรสมัยมาแต่แรก) เจ้าคุณบวรวิริยเถร
(อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (เวลานั้นเรียกว่าวัดบางลำพูบน)
จังหวัดพระนคร เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาจะเป็นปีใดไม่ปรากฏ
ได้ย้ายสำนักมาอยู่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป
ในตอนที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะย้ายมาอยู่วัดระฆังฯ นั้นมีเรื่องเล่าว่า คืนวันหนึ่งพระอาจารย์ (เห็นจะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)
เปรียญเอก)
นอนหลับฝันไปว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของ
ท่านจนหมดสิ้น แล้วตกใจตื่น ท่านได้พิจารณาลักษณะการที่ฝันเห็นว่า "ชะรอยจะมีคนนำเด็กมาฝากเป็นศิษย์ และเด็กนั้นต้องกอปรไปด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง ต่อไปจะเป็นผู้ทรงคุณเป็นอย่างวิเศษผู้หนึ่ง" ครั้นรุ่งเช้าท่านจึงสั่งพระและเณรว่า วันนี้ถ้ามีใครนำเด็กมาขอให้รอยพบท่านให้จนได้ เผอิญในวันนั้น
เจ้า คุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์นั้นก็ยินดีรับไว้ ด้วยพิเคราะห์เห็นพฤติการณ์เป็นจริงตามความฝัน
เจ้า คุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์นั้นก็ยินดีรับไว้ ด้วยพิเคราะห์เห็นพฤติการณ์เป็นจริงตามความฝัน
ในสมัยที่เป็นสามเณร ปรากฏว่า พระ
บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ
เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ทรงโปรดปรานมากทรงรับไว้ในราชูปถัมภ์ถึงกับได้พระราชทานเรือกราบกันยาหลังคา
กระแชงให้ท่านไว้ใช้ในกิจการส่วนตัว ( ความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ว่า "พระ
มหาอุปราชในรัชกาลที่ ๓
ที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแชงอย่างพระองค์เจ้า
ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า นี้แสดงให้เห็นว่า
เรือกราบกับยาหลังคากระแชงเป็นเรือเฉพาะพระองค์เจ้าทรง)
แม้พระบาทพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ทรงพระเมตตา ครั้นอายุครบอุปสมบทเมื่อปีเถาะ จุล
๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บวชเป็นนาคหลวง ที่
ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชสังสฤษดิ์
เป็นอุปัชฌาย์ (วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดสลัก สมเด็จพระอนุชาธิราช
(ในรัชกาลที่ ๑) กรมพระราชชวังบวรสถานมงคล
ทรงปฏิสังขรณ์โดยให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และสร้างเจดีย์เล็กๆ
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ให้ก่อพระระเบียงรอบ และสร้างกุฎีตึก ๓ หลัง
พระราชทานพระวันรัตเจ้าอาวาส และสร้างกุฏีเครื่องไม้ฝากระดานเป็นเสนาสนะ พอแก่พระสงฆ์ทั้งอาราม แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบพระอารามด้วย ครั้นเมื่อทรงปฏิสังขรณ์แล้ว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดนิพพานาราม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเปลี่ยนนามเสียใหม่ว่า วัดศรีสรรเพชญ์ ครั้นต่อมาอีกทรงพระราชดำริเห็นว่าวัดมหาธาตุยังไม่มี และก็วัดมหาธาตุเป็นที่อยู่ของสมเด็จพระสังฆราชแล้ว และครองอยู่ที่วัดนี้ (คนละองค์กับสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน แต่ชื่อสุกเหมือนกัน) จึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นมหาธาตุฯ ตามตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมาจนทุกวันนี้ อนึ่งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้เป็นพระฝ่ายคันถธุระ และเป็นอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตลอดจนการสั่งสอนพระปริยัติธรรมด้วย)
เรื่อง
ประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น
ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า
ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง
เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง
นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่
เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความ
ทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอัดยอดเยี่ยม
ดังมีเรื่องเล่าขานกัว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระ
สังฆราชนั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้
ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น
ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด
ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"
ยัง
มีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง
ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น
การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้
การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุด
แต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้
ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น) และแปลกยิ่งกว่านั้นก็คือ
มีผู้เรียกท่านว่ามหาโตมาตั้งแต่แรกบวช (
ปรากฏในบัญชีรายนามพระสงฆ์พระราชทานฉันและสดัปกรณ์ราย ๑๐๐
ในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา รัชกาลที่ ๓ วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ แต่ไม่ลงปี
มีนามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เขียนว่า "มหาโต เปรียญเอก บางแห่งว่า มหาโต เปรียญ ๔ ประโยคแรก) แต่บางคนเรียกว่า "ขรัวโต"
ทั้ง
นี้เพราะเห็นว่าท่านมักชอบทำอะไรแปลกๆ ไม่ซ้ำแบบใคร
นี้เป็นเรื่องธรรมดาของอัจฉริยบุคคล ซึ่งตามปรกติคนส่วนมาก
ไม่ค่อยเข้าใจในอัจฉริยภาพอันมีความหมายสูง
อัจฉริยบุคคลแทบทุกท่านเมื่อยังมีชีวิตอยู่ มักจะมีผู้เข้าใจว่าบ้าเสมอ
มีมติอยู่ข้อหนึ่งว่า " อัจฉริยบุคคลและคนบ้านั้นอยู่ห่างกันเพียงก้าวเดียว"
ว่าถึงความรอบรู้พระปริยัติธรรม ปรากฏว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
เป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก มีชื่อทั้งเป็นผู้เรียนก็เรียนเก่งกว่าใคร
เป็นครูก็สอนได้ดีเยี่ยม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
ศิษย์ที่เป็นเปรียญเอกและทรงสมณศักดิ์สูงคือหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์
(ทัด) วัดพระเชตุพน
ต่อไปจะกล่าวถึงการศึกษาวิปัสสนาธุระของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก่อนจะกล่าวในเรื่องนี้จำจะต้องอธิบายถึงเรื่องวิปัสสนาธุระก่อน
การเรียน "วิปัสสนาธุระ" นั้น คือเรียนวิธีที่จะชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส (การเรียน "คันถธุระ" หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า "พระปริยัติธรรม" คือเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยพยายามอ่านพระไตรปิฏกให้รอบรู้ในพระ ธรรมวินัย แต่การเรียนคันถธุระนั้นต้องเรียนหลายปี เพราะต้องเรียนภาษามคธก่อน ต่อเมื่อรู้ภาษามคธแล้วจึงจะอ่านพระไตรปิฏกเข้าใจได้) ผู้ที่บวชพรรษาเดียวไม่มีเวลาพอที่จะเรียนคันถธุระ จึงมักเรียนวิปัสสนาธุระอันเป็นการภาวนา อาจเรียนได้ด้วยไม่ต้องรู้ภาษามคธ และถือกันอีก อย่างหนึ่งว่า ถ้าเรียนวิปัสสนาธุระชำนาญแล้วอาจจะทรงวิเศษในทางวิทยาคมเป็นประโยชน์อย่าง อื่นตลอดจนวิชาพิชัยสงคราม เพราะฉะนั้น ผู้ซึ่งบวชแต่พรรษาเดียว จึงมักศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นประเพณี มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึง สมัยรัตนโกสินทร์นี้ ผู้ที่บวชแต่พรรษาเดียวหรือหลายพรรษาก็นิยมศึกษาวิปัสสนาธุระกันแพร่หลาย (หนังสือ "ความทรงจำ" พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "....เมื่อ พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เพราะฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้ทำตามเยี่ยงอย่าง ครั้นพระองค์ทรงผนวช ทรงรับอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ ตำหนักในวัดมหาธาตุทำอุปชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย ซึ่งพระราชทานนามว่า "วัดราชาธิวาส" เมื่อ รัชกาลที่ ๔) ว่าโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒ การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญรุ่งเรือง ด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงวิทยาประเภทนี้ โดยโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ ในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบาตร์ ไตรจีวร กลด และบริกขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วทรงแต่งตั้งเป็น พระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ (ความพิสดารปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ ปีมะเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ (พ.ศ. ๒๓๖๔ เลขที่ ๗)
การเรียน "วิปัสสนาธุระ" นั้น คือเรียนวิธีที่จะชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส (การเรียน "คันถธุระ" หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า "พระปริยัติธรรม" คือเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยพยายามอ่านพระไตรปิฏกให้รอบรู้ในพระ ธรรมวินัย แต่การเรียนคันถธุระนั้นต้องเรียนหลายปี เพราะต้องเรียนภาษามคธก่อน ต่อเมื่อรู้ภาษามคธแล้วจึงจะอ่านพระไตรปิฏกเข้าใจได้) ผู้ที่บวชพรรษาเดียวไม่มีเวลาพอที่จะเรียนคันถธุระ จึงมักเรียนวิปัสสนาธุระอันเป็นการภาวนา อาจเรียนได้ด้วยไม่ต้องรู้ภาษามคธ และถือกันอีก อย่างหนึ่งว่า ถ้าเรียนวิปัสสนาธุระชำนาญแล้วอาจจะทรงวิเศษในทางวิทยาคมเป็นประโยชน์อย่าง อื่นตลอดจนวิชาพิชัยสงคราม เพราะฉะนั้น ผู้ซึ่งบวชแต่พรรษาเดียว จึงมักศึกษาวิปัสสนาธุระเป็นประเพณี มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึง สมัยรัตนโกสินทร์นี้ ผู้ที่บวชแต่พรรษาเดียวหรือหลายพรรษาก็นิยมศึกษาวิปัสสนาธุระกันแพร่หลาย (หนังสือ "ความทรงจำ" พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "....เมื่อ พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ เพราะฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้ทำตามเยี่ยงอย่าง ครั้นพระองค์ทรงผนวช ทรงรับอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ ตำหนักในวัดมหาธาตุทำอุปชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย ซึ่งพระราชทานนามว่า "วัดราชาธิวาส" เมื่อ รัชกาลที่ ๔) ว่าโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒ การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญรุ่งเรือง ด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงวิทยาประเภทนี้ โดยโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ ในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบาตร์ ไตรจีวร กลด และบริกขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วทรงแต่งตั้งเป็น พระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ (ความพิสดารปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ ปีมะเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ (พ.ศ. ๒๓๖๔ เลขที่ ๗)
การศึกษาวิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สันนิษฐานว่าท่านจะได้เล่าเรียนในหลายสำนัก ด้วยในสมัยนั้น (โดย
เฉพาะในรัชกาลที่ ๒) การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญแพร่หลายนัก
มีครูอาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณอยู่มากดังกล่าวแล้ว
แต่ที่ทราบเป็นแน่นอนนั้นว่า
ในชั้นเดิมท่านได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว)
วัดอินทรวิหารและในสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม และ
ดูเหมือนจะได้เล่าเรียนจนมีความรู้เชี่ยวชาญแต่เมื่อยังเป็นสามเณร
ด้วยปรากฏว่า เมื่อเป็นสามเณรนั้น ครั้งหนึ่งท่านได้เอาปูนเต้าเล็ก ๆ ไปถวายเจ้าคุณบวรฯ ๑ เต้า กับถวายพระในวัดนั้นองค์ละ ๑ เต้า เวลานั้นไม่มีใครสนใจ มีพระองค์หนึ่งเก็บปูนนั้นไว้ แล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ สัก ๓-๔ ลูก ภายหลังกลายเป็นลูกอมศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือกันขึ้นดังนี้ ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรีอีกองค์หนึ่ง (พระราชนิพนธ์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคราวเสด็จประพาศมณฑลอยุธยาเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ความตอนหนึ่งว่า
"....ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา
เดิมตั้งแต่เมืองลพบุรีเข้าลงไปเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง
เจ้านายขุนนางรู้จักหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์ (คือ
วัดเกาะ ซึ่งเจ้าพระยายมราช (เฉย) ต้นสกุล ยมาภัย สร้าง)
ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้ หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น
ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้
ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย
ราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรอิฐปูน
และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งผู้อื่นช่วย
เมื่อตายแล้ว ไม้ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่.....)
พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน (สุก) (สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระ
บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร
ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้ง
หลาย ถึงกับกล่าวกันว่า
ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน
ให้เชื่องได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม
โพธิสัตว์ในเรื่อชาดก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน"
และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้
๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฎฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง
ด้านหน้าพระอุโบสถ
อนึ่ง
ในตอนที่ถูกอาราธนามาจากวัดท่าหอยนั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก
จึงโปรดให้อยู่วัดพลับ แล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมออกมาอีก
และเจ้านายที่ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ นั้น
ต้องไปศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช
(ขณะที่ทรงเป็นพระญาณสังวร) พระ
บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็ดี
ตลอดจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ดี
ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระมาจากสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น อัจฉริยภาพ
ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ
ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้าง
ตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับวัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่
ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่าน
ขออยู่วัดอรัญญิก
จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก
สมเด็จพรพระญาณสังวรนี้
ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑
เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ
ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้นที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์
ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม
แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราลพเจดีย์"(พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิราจุมพฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ) เมื่อ
พิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ
(ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่า
พระ สมเด็จฯฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว
พระ สมเด็จฯฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว
อนึ่ง
การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา
อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก
เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง นอก
จากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
จะได้ศึกษาวิปัสสนาธุระมายาศาสตร์มาเป็นเวลาช้านานอย่างไรไม่ปรากฏ
ปรากฏแต่ว่าท่านได้ศึกษาจนมีความรู้ความชำนาญ ทั้งในคันถธุระ, วิปัสสนา
ธุระ และมายาศาสตร์ กับมีคุณวุฒิอย่างอื่นประกอบกันเป็นอันมาก
ท่านจึงเป็นผู้ทรงคุณ วิเศษเป็นมหัศจรรย์ยิ่งนัก
นับได้ว่าเป็นวิสามัญบุรุษหรืออัจฉริยบุคคลที่หาได้ยากที่สุดในโลกคนหนึ่ง
ความที่กล่าวข้อนี้มีมูลความจริง ที่จะพิสูจน์ได้
จากเรื่องราวในชีวประวัติของท่านซึ่งจะบรรยายต่อไปข้างหน้า
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ที่ไม่ปรากฏนายศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่ยอมรับเป็นฐานนานุกรมในรัชกาลที่ ๓ พระ
บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านทูลขอตัวเสีย
เล่ากันว่า เพราะท่านเกรงว่าจะต้องรับพระราชทานสมณศักดิ์
ท่านจึงมักหลบหนีไปพักแรม ณ ต่างจังหวัดห่างไกลเนื่องๆ (ว่า
โดยมากไปธุดงค์) บางทีก็เลยไปถึงประเทศเขมรก็มี
(ดูตอนประวัติการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบ) ถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าคุณธรรม ของ
ท่านยิ่งหย่อนเพียงไร จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปีชวด
พ.ศ. ๒๓๙๕ เวลานั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีแล้ว
แต่จะทรงตั้งในวันเดือนใดไม่ปรากฏ ปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ จุลศักราช
๑๒๑๔ (พ.ศ.๒๓๙๕) เล่น ๑๘ ตอนหนึ่งความว่า "...อนึ่ง
เพลาเช้า ๓ โมง นายพันตำรวจวังมาสั่งว่า
ด้วยพระประสิทธิศุภการรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
รับสั่งว่าทรงพระราชศรัธาให้ถวายนิตยภัตน์พระธรรมกิตติ วัดระฆังฯ
เพิ่มขึ้นไปอีก ๒ บาท เข้ากับเก่าใหม่เป็นเงินเดือนถวายพระธรรมกิตติอีก
๒บาท ตั้งแต่เดือนยี่ ปีชวด จัตวาศก ไปจนทุกเดือนทุกปีอย่าให้ขาดได้....."
ใน
ตอนพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ มีเรื่องเกร็ดเล่ากันว่า
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถามเจ้าพระคุณสมเด็จฯว่า "เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ทำไม่ท่านจึงหนี ไม่ยอมรับยศศักดิ์ ต่อที่นี้ทำไมจึงยอมรับไม่หนีอีก" ท่านถวายพระพรว่า "รัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ทรงเป็นเจ้าฟ้า (คือ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้เป็นเจ้าฟ้าลูกยาเธอ
เป็นแต่พระองค์เจ้า) เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้น ท่านจึงพ้น
ส่วนมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เป็นทั้งเจ้าฟ้าและเจ้าแผ่นดินท่านจะหนีไปทางไหนพ้น"
เราย่อมทราบได้ว่านี่ไม่ใช่เหตุผล แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ได้ใช้ปฏิภาณตอบเลี่ยงไปในทำนองตลกได้อย่าง งดงามกล่าวกันว่า
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล ไม่ตรัสว่ากระไร (และคงจะเป็นเพราะไม่ทรงทราบว่าจะตรัสว่ากระไรดีกระมัง-ผู้เขียน) แล้วโปรดให้มาครองวัดระฆังฯ (วัด
นี้เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ขึ้นครองราชย์
ทรงแต่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ และ
พระ พิมลธรรม (ไม่ทราบนามทั้ง ๓ องค์) ให้ทรงสมณศักดิ์ตามเดิม (ถูกพระเจ้ากรุงธนฯ ถอด) และให้สมเด็จพระสังฆราช มาครองวัดบางหว้าใหญ่ ทรงให้รื้อตำหนักทองของพระเจ้ากรุงธนฯ ไปปลูกเป็นกถฏถวายสมเด็จพระสังฆราชและทรงปฏิสังขรณ์ทั่วๆ ไป เสร็จแล้วทรงเปลี่ยนนามวัดว่า วัดระฆังโฆสิตาราม ดังปรากฏสืบมาทุกวันนี้)
พระ พิมลธรรม (ไม่ทราบนามทั้ง ๓ องค์) ให้ทรงสมณศักดิ์ตามเดิม (ถูกพระเจ้ากรุงธนฯ ถอด) และให้สมเด็จพระสังฆราช มาครองวัดบางหว้าใหญ่ ทรงให้รื้อตำหนักทองของพระเจ้ากรุงธนฯ ไปปลูกเป็นกถฏถวายสมเด็จพระสังฆราชและทรงปฏิสังขรณ์ทั่วๆ ไป เสร็จแล้วทรงเปลี่ยนนามวัดว่า วัดระฆังโฆสิตาราม ดังปรากฏสืบมาทุกวันนี้)
ครั้น
เสร็จพระราชพิธีแล้ว ท่านก็ออกจากพระบรมมหาราชวังข้ามไป วัดระฆังฯ
หอบเครื่องไทยธรรม ถือพัดยศและย่ามมาเอง ใครจะรับก็ไม่ยอมส่งให้
เที่ยวเดินไปรอบวัดร้องบอกกล่าวดังๆว่า "ในหลวงท่านให้ฉันมาเป็นสมภารวัดนี้จ๊ะ" พวกพระเณรและคฤหัสถ์ที่มาคอยรับต่างพากันเดินตามท่านไปเป็นขบวน เมื่อบอกกล่าวเขารอบๆวัดแล้ว ท่านจึงขึ้นกุฏิ (มิ
ใช่เป็นการโอ้อวดหรือปิติยินดี
แต่เป็นการแฝงไว้ซึ่งอัจฉริยภาพอันหนึ่งที่มองโลกไปในแง่แห่งความขบขัน
คือหนีการแต่งตั้งไม่พ้น-ผู้เขียน)
ต่อมาอีก ๒ ปี ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวีครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศมรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์องค์ที่ ๕ ในกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวตามลำดับดังนี้ คือ
๑. สมเด็จพระพุฒจารย์ (ไม่ทราบนามเดิม) อยู่วัดอมรินทร์ (ซึ่ง
ครั้งนั้นเรียกว่าวัดบางว้าน้อย)
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าต้องถูกถอดถูกเฆี่ยนด้วยไม่ยอมถวาย
บังคมพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงรัชกาลที่ ๑
จึงโปรดให้เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์ตามเดิม
๒. สมเด็จพระพุฒจารย์ (อยู่) วัดระฆังฯ
๓. สมเด็จพระพุฒจารย์ (เป้า) วัดอินทาราม (เดิมเรียกวัดบางยี่เรือใต้)
๔. สมเด็จพระพุฒจารย์ (สน) วัดสระเกศ (เดิมเรียกวัดสะแก)
๕. สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) วัดระฆัง ฯ
ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
พระคาถา บูชาหลวงปู่ทวด
ให้บูชาท่านด้วย ธูปแขก ๙ ดอก มะลิขาว
๙ ดอกตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงท่าน ขอบารมีต่างๆ ที่ต้องการแล้วสวดคาถานี้
นะโม
โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา
(ภาวนา ๓ จบ ยึดมั่นแล้วท่านจะอยู่เป็นสุข
ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง)
ตำนานประวัติหลวงปู่ทวด
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด
เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิ
ปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ
เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็น
ตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ
พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร
เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง
เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไปทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอน หลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูก เราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ อยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดิน ทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศ ในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกาย แวววาวโชติช่วง
เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือ ลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ด ท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราช สาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและ เรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ พระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุ ภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่ กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่ว พระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาล เวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้ อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรง สุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระ แท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่น จากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวาย บังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาล ไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็น จะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขอ อำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและ อำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขอ อำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและ อำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ใน เวลาเย็นของวันนั้น
พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตก กังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า “พระสังฆราชคูรูปาจารย์” และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า “หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ”
กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า “สมเด็จอย่าละทิ้งโยม” แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้ เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา
เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมา เป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เท้า 3 คด” ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็น อย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้ง นี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้
เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่ม ชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา “ไม้เท้า 3 คด” พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและ เผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ตลอดไป.......
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)